บทความนี้ เราจะมาลองทำความรู้จัก Raspberry Pi เพื่อดูว่ามันสามารถใช้ทำอะไรได้บ้างกันนะ!
หมายเหตุ: สำหรับบทความนี้เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบอร์ด Raspberry Pi นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับ เตรียมตัวใช้งาน Raspberry Pi และ การใช้งาน Raspberry Pi ด้วยนะ คลิกเพื่ออ่านได้เลย!
หากใครยังไม่มี Raspberry Pi สามารถหาซื้อได้จากที่นี่เลย!--> https://bit.ly/3D3xqnZเราจะมาทำอะไรกันบ้าง?
Raspberry Pi คือบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่คุณสามารถนำไปทำอะไรได้มากมายหลายอย่าง หากจะใช้งานก็เพียงแค่เชื่อมต่อจอภาพ เมาส์ และคีย์บอร์ดก็พร้อมใช้งานแล้ว
โปรเจ็กต์นี้ครอบคลุมส่วนประกอบต่างๆ จากหัวข้อของหลักสูตร Raspberry Pi Digital Making
- ใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอล, อนาล็อก, และชิ้นส่วนเครื่องมือทางไฟฟ้า
สิ่งที่คุณจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์
- บอร์ด Raspberry Pi พร้อม microSD card ที่ทำการติดตั้ง Raspberry Pi OS ไว้เรียบร้อยแล้ว
- จอภาพที่รองรับการเชื่อมต่อ HDMI พร้อมสาย HDMI แบบ microHDMI to HDMI
- เมาส์และคีย์บอร์ดแบบ USB
- อแดปเตอร์จ่ายไฟสำหรับ Raspberry Pi
- หูฟังหรือลำโพง (ถ้ามี)
- สาย LAN (ถ้ามี)
หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง Raspberry Pi OS ลงบน microSD card สามารถดูวิดีโอนี้เพื่อศึกษาวิธีติดตั้ง Raspberry Pi OS ลง microSD card ด้วยซอฟต์แวร์ Raspberry Pi Imager ได้เลย รับลองเลยว่า ง่ายนิดเดียว!
มาลองทำความรู้จักกับ Raspberry Pi กันเถอะ!ขั้นแรก เราลองมาทำความรู้จักหน้าตาของบอร์ด Raspberry Pi กันก่อน โดยตอนนี้ คุณควรที่จะมี Raspberry Pi วางอยู่ด้านหน้าของคุณแล้วนะ โดยยังไม่จำเป็นที่จะต้องต่ออะไรเข้ากับตัวบอร์ด Raspberry Pi นะ
ลองดูที่ Raspberry Pi ของคุณสิ คุณเห็นชิ้นส่วนต่างๆของตัวบอร์ดตามที่ลูกศรชี้หรือเปล่า?
พอร์ต USB - พอร์ต USB สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจำนวน 4 พอร์ต สามารใช้ในการเชื่อมต่อเมาส์ คีย์บอร์ด หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่าง USB Drive เป็นต้น
ช่องสำหรับติดตั้ง microSD card - สำหรับติดตั้ง microSD card ที่ใช้เก็บ OS และข้อมูลบนตัวบอร์ด Raspberry Pi
พอร์ต Ethernet - ใช้สำหรับเชื่อมต่อ Raspberry Pi เข้ากับระบบเครือข่ายด้วยสาย LAN (RJ45) หรือจะเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ก็สามารถทำได้
AudioJack - ใช้ในการเชื่อมต่อลำโพงหรือหูฟังได้
HDMI port - ใช้สำหรับการเชื่อมต่อจอภาพเพื่อแสดงผล โดยมีสัญญาณเสียงถูกส่งออกไปด้วยหากจอภาพที่ทำการเชื่อมต่อมีลำโพงในตัว
พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟ - เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่รับพลังงานไฟฟ้าจากอแดปเตอร์จ่ายไฟ โดยควรที่จะเชื่อมต่อเป็นชิ้นสุดท้ายหลังจากทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงทุกอย่างครบแล้ว
GPIO - ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น LED หรือ ปุ่มกด เพื่อใช้งานกับ Raspberry Pi
ลองหยิบสายมาต่อเพื่อใช้งาน Raspberry Pi กัน- พลิกตัวบอร์ด Raspberry Pi ขึ้น จะเห็นว่ามีช่องสำหรับใส่ microSD card อยู่ ให้นำ microSD card ที่ได้ติดตั้ง Raspberry Pi OS หรือ NOOBS เสียบเข้าไปได้เลย
สำหรับสินค้าชุด Raspberry Pi 4 Model B Beginner Kit มาพร้อมกับ microSD card ที่ได้ทำการติดตั้ง Raspberry Pi OS มาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Raspberry Pi OS ลงใน microSD card ที่ให้มาในชุดอีก (ห้าม! ฟอร์แมต microSD card ในชุดสินค้านี้ก่อนใช้งาน เนื่องจากมีการติดตั้ง Raspberry Pi OS ลงใน microSD card ในชุดเรียบร้อยแล้ว)
- นำอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์ คีย์บอร์ดที่เป็นการเชื่อมต่อแบบ USB มาเชื่อมต่อกับพอร์ต USB ของ Raspberry Pi
- เชื่อมต่อและเปิดจอภาพที่จะใช้งานให้พร้อมใช้งาน แล้วนำสาย microHDMI to HDMI ปลายด้านที่เป็น microHDMI มาเสียบเข้ากับตัวบอร์ด และปลายสายที่เป็น HDMI ขนาดปกติ เสียบเข้ากับจอภาพแสดงผล โดยเชื่อมต่อกับพอร์ต microHDMI ที่เขียนว่า HDMI0 เป็นอันดับแรก
- หรือหากต้องการเชื่อมต่อจอภาพที่สองด้วยก็เสียบสาย microHDMI ที่พอร์ต microHDMI ที่เขียนว่า HDMI1 เป็นลำดับถัดไป
สำหรับ Raspberry Pi 1, 2, 3
สามารถเสียบสาย HDMI ขนาดปกติเข้ากับพอร์ต HDMI บนตัวบอร์ดได้ทันที
ณ ตอนนี้จะยังไม่มีภาพใดๆปรากฎขึ้นบนจอของ Raspberry Pi เนื่องจากยังไม่ได้ทำการจ่ายพลังงานให้กับตัวบอร์ด
- หากต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้กับตัวบอร์ด Raspberry Pi สามารถนำสาย LAN มาเสียบเข้ากับพอร์ต LAN บนบอร์ด Raspberry Pi ได้เลย หรือหากต้องการใช้การเชื่อมต่อไร้สายผ่าน WiFi ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อสาย LAN เข้ากับตัวบอร์ด
- กรณีที่จอแสดงผลของคุณมีลำโพงในตัว เสียงจะถูกส่งผ่านสาย HDMI ไปพร้อมกับภาพ แต่ในกรณีที่จอของคุณไม่ได้มีลำโพงในตัว คุณสามารถเชื่อมต่อลำโพงหรือหูฟังผ่าน Audio port ขนาด 3.5mm
- ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงทุกตัวครบแล้ว คุณสามารถเชื่อมต่อสาย USB Type-C ที่ทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับตัวบอร์ด Raspberry Pi ได้เลย
เมื่อบอร์ด Raspberry Pi ได้รับพลังงานจากตัวบอร์ดแล้ว จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ โดยให้สังเกตุที่ LED สีเขียวและสีแดงบนตัวบอร์ด โดย
LED สีแดงติด หมายถึงบอร์ด Raspberry Pi ได้รับพลังงานจากแหล่งจ่ายพลังงานแล้ว
LED สีเขียวติด หมายถึงบอร์ด Raspberry Pi เริ่มการอ่านเขียนข้อมูลบน microSD card ที่ติดตั้งอยู่บนตัวบอร์ดแล้ว
เมื่อรอไปซักครู่ บนจอภาพจะแสดงหน้า Desktop ของ Raspberry Pi OS แปลว่าเราติดตั้งและเริ่มใช้งาน Raspberry Pi ได้ถูกต้อง :)
ตั้งค่า Raspberry Pi OS สำหรับการใช้งานครั้งแรกโดยเมื่อคุณเริ่มต้นใช้งาน Raspberry Pi OS เป็นครั้งแรก โปรแกรมช่วยตั้งค่าจะปรากฏขึ้นสำหรับช่วยผู้ใช้งานใหม่ในการตั้งค่าบอร์ด Raspberry Pi ให้เหมาะกับภูมิภาคที่ใช้งาน และการอัพเดต OS และแพคเกจต่างๆให้เป็นปัจจุบัน
- คลิกที่ "Next" เพื่อเริ่มต้นการตั้งค่าใช้งาน
- เลือกประเทศ, ภาษา และเขตเวลาให้ตรงกับภูมิภาคที่อยู่อาศัยของผู้ใช้งาน แล้วกด "Next" อีกครั้ง
- ตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน Raspberry Pi ใหม่ เสร็จแล้วกด "Next"
- เชื่อมต่อบอร์ด Raspberry Pi เข้ากับเครือข่าย WiFi โดยทำการเลือก SSID ที่ต้องการเชื่อมต่อแล้วใส่รหัสผ่านให้ถูกต้อง หลังจากนั้นกด "Next"
หากบอร์ด Raspberry Pi ของคุณไม่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ WiFi หน้าที่เลือกการเชื่อมต่อ WiFi จะไม่ปรากฏขึ้นมาในขั้นตอนการตั้งค่า
- กด "Next" เพื่อให้โปรแกรมช่วยตั้งค่าการใช้งานตรวจสอบ OS และแพคเกจเพื่อทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน โดยจะใช้เวลาในการตรวจสอบซักพักหนึ่ง (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ Raspberry Pi เชื่อมต่ออยู่ด้วย)
- หลังการตรวจสอบและอัพเดตเสร็จสิ้น กด "Done" หรือกด "Reboot" เพื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่าการใช้งานครั้งแรก
คุณควรที่จะทำการ Reboot บอร์ด Raspberry Pi ทุกครั้งที่ได้มีการอัพเดต OS หรือแพคเกจมาลองเล่น Raspberry Pi กันเถอะ!
หลังจากที่ติดตั้งมานาน ถึงเวลาลองเล่น Raspberry Pi กันแล้ว!
- สังเกตที่มุมซ้ายบนของจอภาพ จะพบกับโลโก้รูป Raspberry Pi ตรงนั้นเปรียบเสมือนกับหน้าเมนูของ OS โดยเมื่อคลิกแล้วจะพบกับโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่บนตัวบอร์ดเพื่อให้เราได้เลือกใช้งาน
- ลองคลิกที่ Accessories และคลิกที่ Text Editor
- ลองพิมพ์คำว่า "I just built a Raspberry Pi computer" ลงในหน้าต่าง Text Editor ที่ปรากฏขึ้นมา
- คลิกที่ Tab File และเลือก Save โดยเลือกตำแหน่งที่ Desktop ของ Raspberry Pi OS โดยตั้งชื่อไฟล์ว่า
rp.txt
- หลังจากนั้เราก็จะเห็นว่าไฟล์ที่เราได้บันทึกนั้นไปปรากฏอยู่ที่ Desktop ด้านหลังแล้ว
โดยไฟล์ที่เราได้เซฟเมื่อขั้นตอนที่แล้วนั้นจะถูกจัดเก็บอยู่บน microSD card ที่ถูกติดตั้งอยู่กับตัวบอร์ด
- ปิดการทำงาน Text Editor โดยกดที่เครื่องหมาย X ด้านขวาบนของหน้าต่างโปรแกรม
- ไปที่ Menu ด้านซ้ายบนของจอภาพ เลือก Shutdown แล้วเลือก Reboot
- โดยเมื่อตัวบอร์ดทำการ Reboot แล้วติดขึ้นอีกครั้ง ไฟล์ที่เราบันทึกไว้ก็ยังคงอยู่ที่เดิมบน Desktop
- Raspberry Pi เป็นเวอร์ชันหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า Linux (เช่นเดียวกับ Windows หรือ macOS ที่เป็นระบบปฏิบัติการเช่นกัน) โดยระบบปฏิบัติการนี้อนุญาติให้คุณสามารถใช้งานหรือสั่งการผ่านการพิมพ์คำสั่ง แทนที่จะเป็นการคลิกเพื่อเลือกหรือสั่งการ ไม่เชื่อมาลองเล่นดูโดยการกดที่สัญลักษณ์ Terminal ดังภาพ
- ในหน้าต่างนี้ คุณสามารถพิมพ์คำสั่ง ตัวอย่างเช่น
ls
แล้วกด Enter เพื่อเป็นการยืนยันการใช้งานคำสั่งที่คุณได้พิมพ์ลงไป
โดยผลลัพธ์ที่ได้ คุณจะเห็นรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ใน ไดเร็กทอรี่
ที่ชื่อว่า home
ของคุณ
- นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้คำสั่ง
cd Desktop
เพื่อเป็นการเปลี่ยนตำแหน่ง ไดเร็กทอรี่
ที่คุณเข้าใช้งานอยู่ในปัจจุบันไปยัง Desktop โดยคุณจำเป็นที่จะต้องกด Enter ทุกครั้งที่พิมพ์คำสั่งเสร็จสิ้นและต้องการสั่งการเพื่อใช้งานคำสั่งนั้นๆ
หลังจากนั้น ใช้คำสั่ง
ls
โดยคุณจะเห็นไฟล์ที่คุณได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้
- ออกจาก Terminal โดยการกดที่เครื่องหมาย X มุมขวาบนของหน้าต่าง
- ลากไฟล์
rp.txt
ลง Wastebasket บน Desktop ของ Raspberry Pi OS เพื่อเป็นการลบไฟล์ออก
คุณอาจจะอยากลองเชื่อมต่อ Raspberry Pi ของคุณเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดยหากคุณไม่ต้องการเสียบสาย LAN ให้ยุ่งยาก คุณสามารถเชื่อมต่อ Raspberry Pi เข้ากับเครือข่าย WiFi ภายในบ้านของคุณได้
- คลิกไปที่ icon รูปกากบาทพร้อมเส้นที่มุมขวาบนของจอภาพ เลือก SSID ของ WiFi ที่ต้องการใช้งาน
- ใส่รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน WiFi ให้ถูกต้อง หลังจากนั้น กด OK
- โดยเมื่อ Raspberry Pi ของคุณทำการเชื่อมต่อเข้ากับ WiFi และออนไลน์เรียบร้อบแล้ว คุณจะสังเกตเห็นสัญลักษณ์รูป WiFi มาแทนที่ icon รูปกากบาทพร้อมเส้น
- ลองใช้งาน browser บน Raspberry Pi โดยคลิกที่ icon รูปโลกด้านข้างปุ่มเมนู หลังจากนั้นพิมพ์ฝนช่องค้นหาว่า
raspberry pi
หากคุณชอบที่จะสำรวจ ลองคลิกที่เมนูแล้วลองค้นหาสิ่งเหล่านี้ดูสิ!
- Version ของ Scratch!
- เกม Python บนบอร์ด Raspberry Pi!
- Minecraft ที่คุณสามารถโปรแกรมตัวเกมได้!
Comments
Please log in or sign up to comment.