สำหรับในบทความนี้ เราจะมาตั้งค่าการใช้งานขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม เพื่อให้คุณสามารถใช้งาน Raspberry Pi ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น รับรองว่าคุณจะได้ใช้การตั้งค่าที่กำลังจะกล่าวถึงอย่างแน่นอน
การตั้งค่าคีย์บอร์ดและเมาส์สำหรับการใช้งานกับ Raspberry Piในการตั้งค่าเมาส์และคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยไปที่ Menu > Preferences > Mouse and Keyboard Settings
- การตั้งค่าเมาส์ : คุณสามารถปรับแต่งความไวการเคลื่อนที่และดับเบิลคลิ๊กได้ที่เมนูนี้ โดยใช้การเลื่อนปรับค่าให้ได้ตามที่ต้องการ
- การตั้งค่าคีย์บอร์ด : คุณสามารถตั้งค่าระยะเวลาหน่วงการกดซ้ำและค่า interval ของคีย์บอร์ดได้ที่เมนูนี้ โดยใช้การเลื่อนปรับค่าให้ได้ตามที่ต้องการ
นอกจากนี้ ยังสามารถปรับแต่ง Keyboard Layout โดยการกดที่ปุ่ม Keyboard Layout แลัเลือก Layout ของคีย์บอร์ดที่คุณใช้งาน (หากใช้งานกับคีย์บอร์ดภาษาไทย ให้เลือก Thai (TH)
บอร์ด Raspberry Pi สามารถส่งสัญญาณเสียงออกจากตัวบอร์ดได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางสาย HDMI ไปกับสัญญาณภาพเพื่อแสดงภาพและเสียงออกทางจอภาพที่มีลำโพง หรือผ่านแจ๊คเสียง 3.5mm แบบอนาล็อก
- โดยสามารถตั้งค่าได้โดยการ คลิกขวา ที่ icon รูปลำโพงทางด้านขวาบนของจอภาพ เลือก Audio Output แล้วเลือกว่าต้องการส่งสัญญาณเสียงออกทางช่องทางใด ระหว่าง HDMI หรือ AV Jack
- คลิก ที่ icon รูปลำโพงเพื่อเลื่อนปรับระดับความดังของเสียงได้
มีซอฟต์แวร์หลากหลายรูปแบบให้เราสามารถดาว์นโหลดมาใช้งานบน Raspberry Pi ได้ โดยสามารถทำได้ ดังนี้
Raspberry Pi ของคุณจะต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอยู่ก่อนที่จะทำการติดตั้งซอฟต์แวร์อื่นๆเพิ่ม
- คลิก ที่ menu ทางด้านซ้านบน เลือก Preferences และเลือก Recommended Software
โดยคุณสามารถเลือกชมซอฟต์แวร์ที่ต้องการติดตั้งได้จากหน้าต่างนี้ หรือเลือกดูโปรแกรมตามหมวดหมู่จากเมนูด้านข้าง
- ซึ่งหากต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ให้ทำการกดติ๊กเครื่องหมายถูกที่ด้านหลังซอฟต์แวร์ตัวนั้น
- แล้วกด OK เพื่อเริ่มการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เลือก
ซึ่งนอกเหนือจากซอฟต์แวร์ที่ทาง Raspberry Pi แนะนำแล้วก็ยังมี library หรือโปรแกรมอื่นๆให้เราได้เลือกติดตั้งได้ โดยสามารถทำได้ ดังนี้
- ไปที่เมนูซ้ายบน เลือก Preferences และเลือก Add / Remove Software
โดยคุณสามารถค้นหาซอฟต์แวร์หรือ library ที่ต้องการได้จากหน้าต่างนี้ หรือเลือกดูแต่ละหมวดหมู่จากเมนูด้านข้าง
มาลองติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับวาดรูปที่ชื่อ Pinta กัน
- ค้นหาคำว่า "Pinta" ลงในช่องค้นหาแล้วกด Enter
- เลือก Simple drawing/painting program ในรายการค้นหาที่ปรากฏ
- กด OK เพื่อเริ่มติดตั้งซอฟต์แวร์
- หากปรากฏหน้าสำหรับยืนยันตัวตน ให้ทำการกรอกรหัสยืนยันที่คุณได้ตั้งค่าไว้ (หากยังไม่ได้ตั้งค่าใหม่ รหัสผ่าน default คือ raspberry
เพียงเท่านี้ซอฟต์แวร์ Pinta ก็จะถูกติดตั้งลงบน Raspberry Pi ของคุณแล้ว!
- โดยเมื่อการติดตั้งเสร็จสิ้น คุณสามารถเปิดซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานโดยการไปที่เมนูด้านซ้ายบน เลือกหัวข้อ Graphics และเลือก Pinta
เป็นไอเดียที่ดีที่จะให้ซอฟต์แวร์บน Raspberry Pi เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ สามารถทำได้โดยไปที่
- คลิกที่เมนูด้านซ้ายบน เลือก Preferences > Add / Remove Software
ก่อนที่คุณจะทำการติดตั้งหรืออัพเดตซอฟต์แวร์บนตัวบอร์ด คุณควรที่จะ refresh package lists ก่อนทุกครั้ง
- เลือก Options บนเมนูด้านซ้ายบน แล้วเลือก Refresh Package Lists
Raspberry Pi ของคุณก็จะทำการตรวจสอบรายการ package ทั้งหมดบนตัวบอร์ดโดยอัตโนมัติ
- โดยเมื่อตรวจสอบเสร็จสิ้น คลิก Options และเลือก Check for Updates
หลังจากนั้น หน้าต่าง Package Updater ก็จะปรากฏขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงซอฟต์แวร์หรือแพคเกจใดที่มีอัพเดตใหม่พร้อม
- คลิก Install Updates เพื่อทำการอัพเดตซอฟต์แวร์ที่มีอัพเดตใหม่พร้อม
- หากปรากฏหน้าสำหรับยืนยันตัวตน ให้ทำการกรอกรหัสยืนยันที่คุณได้ตั้งค่าไว้ (หากยังไม่ได้ตั้งค่าใหม่ รหัสผ่าน default คือ raspberry
- หลังจากนั้นอัพเดตใหม่จะถูกดาว์นโหลดและติดตั้งโดยอัตโนมัติ โดยคุณสามารถดูความคืบหน้าการอัพเดตได้จาก progress bar ด้านซ้ายล่างของหน้าต่าง
ไฟล์ทั้งหมดใน Raspberry Pi รวมถึงไฟล์ที่คุณสร้างขึ้นมานั้นถูกจัดเก็บอยู่ใน microSD card โดยคุณสามารถเข้าถึงไฟล์เหล่านั้นได้โดยใช้ File Manaager
- คลิกที่เมนูด้านซ้ายบน เลือก Accessories > File Manager หรือเลือก icon รูปแฟ้มที่ menu bar ด้านบนโดยตรงเลยก็ได้
โดยเมื่อเราเปิด File Manager ขึ้นมาครั้งแรก File Manager จะแสดงไดเร็กทอรี่ที่ชื่อ pi
เป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นไดเร็กทอรี่ที่คุณจะสามารถสร้างไฟล์หรือสร้างโฟลเดอร์ย่อยเพื่อจัดเก็บข้อมูลได้
- ดับเบิล-คลิ๊ก ที่หัวข้อ Documents ที่เมนูด้านข้างเพื่อเข้าถึงไดเร็กทอรี่ของ Documents และดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ย่อยด้านใน
หากต้องการเปิดไฟล์ สามารถทำได้โดยการ ดับเบิล-คลิ๊ก ที่ icon ของไฟล์ หรือหากต้องการดูเมนูที่เราสามารถทำกับไฟล์ได้ ให้ทำการ คลิกขวา ที่ icoon ของไฟล์นั้นๆ
คุณสามารใช้งาน USB Drive กับ Raspberry Pi ได้ โดยใช้วิธีดังนี้
- เสียบ USB Drive เข้ากับพอร์ต USB บนตัวบอร์ด Raspberry Pi หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมาดังภาพ เพื่อให้เลือกว่าต้องการทำอย่างไรกับ USB Drive ที่เสียบเข้า
- หากต้องการเปิด USB Drive เพื่อดูไฟล์ข้างในให้เลือก Open in File Manager แล้วกด OK
หลังจากนั้น File Manager จะปรากฏขึ้นมาเพื่อแสดงไฟล์ที่อยู่ภายใน USB Drive นั้นๆ
คุณสามารถตั้งค่าตัวบอร์ด Raspberry Pi อย่างเช่น รหัสผ่าน ผ่าน Raspberry Pi Configuration โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านหัวข้อ Preferences ที่เมนูด้านซ้ายบน
ตั้งค่าระบบ
ในหน้าต่างนี้ คุณสามารถตั้งค่าพื้นฐานของระบบการทำงานของ Raspberry Pi
- Password - รหัสผ่านที่คุณต้องการใช้งานกับ username
pi
(แนะนำให้ทำการเปลี่ยนทุกครั้งเมื่อเริ่มต้นใช้งาน Raspberry Pi เป็นครั้งแรก) - Boot - เลือกว่าต้องการให้ Raspberry Pi boot ขึ้นมาแล้วแสดงผลที่หน้าใด ระหว่าง Desktop หรือ CLI (command line interface)
- Auto Login - เปิดการใช้งานฟังก์ชันนี้เพื่อที่ให้บอร์ด Log-in เข้าใช้งาน username
pi
ให้อัตโนมัติทุกๆครั้งที่บอร์ดเริ่มต้นทำงาน - Network at Boot - เปิดการใช้งานฟังก์ชันนี้เพื่อที่จะให้ Raspberry Pi รอจนกว่าเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับตัวบอร์ดจะพร้อมใช้งาน จึงจะเริ่มต้นการทำงาน
- Splash Screen - เลือกว่าต้องการให้ Raspberry Pi แสดงผลหน้า Splash Screen (ภาพสีรุ้งที่แสดงทุกๆครั้งที่เปิดใช้งานบอร์ด Raspberry Pi) เมื่อ boot หรือไม่
Interface การเชื่อมต่อ
คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายรูปแบบเข้ากับบอร์ด Raspberry Pi โดยอุปกรณ์แต่ละชนิดก็ต่างมี Interfaces ที่แตกต่างกัน โดยคุณสามารถเปิด-ปิดการทำงานของแต่ละ Interfaces ได้ที่ Interfaces Tab เพื่อให้ตัวบอร์ด Raspberry Pi รับรู้ว่ามีการเชื่อมต่อใช้งาน Interfaces นั้นๆบนตัวบอร์ด Raspberry Pi
Camera - เปิดการใช้งาน CSI Interfaces สำหรับการเชื่อมต่อกล้องเข้ากับบอร์ด Raspberry Pi
SSH - เปิดการใช้งาน SSH ให้สามารถรีโมทเข้าใช้งาน Raspberry Pi ได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่าน SSH
VNC - เปิดการใช้งาน VNC เพื่อให้สามารถรีโมทเข้าใช้งาน Desktop ของ Raspberry Pi ได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
SPI - เปิดการใช้งาน SPI interface บน Raspberry Pi GPIO
I2C - เปิดการใช้งาน I2C interface บน Raspberry Pi GPIO
Serial - เปิดการใช้งานการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial) ผ่าน GPIO (Rx, Tx) ของ Raspberry Pi
1-Wire - เปิดการใช้งาน 1-Wire interface บน Raspberry Pi GPIO
Remote GPIO - เปิดการใช้งาน Remote GPIO เพื่อให้สามารถควบคุม GPIO ของ Raspberry Pi ได้จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
ประสิทธิภาพการทำงาน
หากคุณต้องการที่จะใช้งาน Raspberry Pi ในโปรเจ็กต์ที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูง คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าในส่วนนี้เพื่อเร่งประสิทธิภาพการทำงานของตัวบอร์ด Raspberry Pi ได้
คำเตือน - ผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับแต่งเร่งประสิทธิภาพ Raspberry Pi อาจส่งผลให้ตัวบอร์ดทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงาน
- Overclock - ปรับเปลี่ยนความเร็ว CPU ของ Raspberry Pi เพื่อเร่งประสิทธิภาพการทำงานของตัวบอร์ด
- GPU Memory - ปรับแต่งหน่วยความจำที่แบ่งให้ส่วนของ GPU ใช้งาน
ปรับแต่งที่ตั้งหรือภูมิภาคที่ใช้งานบอร์ด Raspberry Pi
ใน Tab นี้คุณจะสามารถปรับแต่งการตั้งค่าให้ Raspberry Pi ของคุณทำงานได้เหมาะสมกับสถานที่ตั้งหรือภูมิภาคที่คุณใช้งานตัวบอร์ด
Locale - ตั้งค่าภาษาที่แสดงผล, ประเทศ, ตัวอักษรที่ระบบบน Raspberry Pi ใช้งาน
Timezone - ตั้งค่าเขตเวลา
Keyboard - ปรับแต่ง Keyboard Layout
WiFi Country - ตั้งค่ามาตรฐาน WiFi ให้เหมาะกับแต่ละประเทศหรือภูมิภาค
Comments
Please log in or sign up to comment.